วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แนวการจัดการเรียนการสอน
 1. การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรม อุปกรณ์การเรียนการสอนในแต่ละพฤติกรรม ควรยืดหยุ่นตามเหตุการณ์สภาพแวดล้อม ความสนใจ ความต้องการที่จำเป็นและความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
2. ผู้สอนควรจัดแผนการเรียนการสอนโดยผสมผสานการสอนแบบตัวต่อตัวไปกับการสอนแบบกลุ่มย่อยและแบบกลุ่มขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพและยังคงมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างเหมาะสม
3.  ผู้สอนควรคำนึงถึงวิธีการสอนเชิงพฤติกรรม   ซึ่งจะช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป   พร้อมทั้งเพิ่มความมั่นใจในตัวเองขึ้น   เช่น วิธีการให้แรงเสริม การสอนแบบกระตุ้นเตือน การเลียนแบบ การวิเคราะห์งาน การตะล่อมกล่อมเกลาพฤติกรรมนำทางไปสู่พฤติกรรมที่พึงประสงค์เป็นต้น
4.  ผู้สอนควรจัดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำเอาทักษะที่เรียนรู้แล้วในชั้นเรียนไปฝึกปฏิบัตินอกห้องเรียนในสถานศึกษาหรือที่บ้านของผู้เรียนให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตประจำวัน ซึ่งมีผลส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถช่วยเหลือตนเอง และดำรงชีวิตได้
 5.  ผู้สอนควรได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ การศึกษา สังคมและอาชีพ ให้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล  เช่นเดียวกับผู้ปกครองของผู้เรียน
เวลาเรียน
ตลอดแนวการพัฒนาหลักสูตรพิเศษฉบับนี้ ใช้เวลาเรียนอย่างน้อย 7 ปี   แต่ละปีควรมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 40 สัปดาห์ ทั้งนี้รวมแล้วต้องไม่ต่ำกว่า 240 ชั่วโมง  สำหรับช่วงอายุพัฒนาการ  0 3   ปี   ไม่ต่ำกว่า 360 ชั่วโมง สำหรับช่วงอายุพัฒนาการ 3 5 ปี   ไม่ต่ำกว่า 480 ชั่วโมง สำหรับช่วงอายุพัฒนาการ   5 7   ปี   การจัดเวลาเรียนในแต่ละช่วงอายุทางพัฒนาการ    ควรคำนึงถึงดังนี้
1.ช่วงอายุทางพัฒนาการ 0 3 ปี
        มีเวลาเรียนในชั้นเรียนและที่บ้านต่อเนื่องกัน   โดยสัปดาห์หนึ่งมีเวลาเรียนในชั้นอย่างน้อย 3 วัน รวมแล้ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ( วันละ 2 ชั่วโมง )   สำหรับการสอนทักษะแบบตัวต่อตัว เป็นกลุ่มย่อย รวมทั้งการฝึกทางกายภาพบำบัด
2.ช่วงอายุทางพัฒนาการ 3 5 ปี
        ควรจัดเรียนในชั้นอนุบาลหรือชั้นพิเศษ    โดยสัปดาห์หนึ่งมีเวลาเรียนในชั้นเรียนอย่าง-น้อย 3 วัน รวมแล้วไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมง ( วันละ 3 ชั่วโมง ) สำหรับการสอนทักษะแบบตัวต่อตัว เป็นกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่   ซึ่งไม่นับรวมเวลาการฝึกโดยตรงจากนักบำบัด

3.ช่วงอายุทางพัฒนาการ 5 7 ปี
 ควรเรียนในชั้นเด็กเล็กเพื่อเตรียมความพร้อม  หรือ ชั้นพิเศษ โดยสัปดาห์หนึ่งมีเวลาเรียนในชั้นเรียนอย่างน้อย  4 วัน   รวมแล้วไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง     แต่ไม่ควรเกินกว่า 18 ชั่วโมง    ( วันละ 3 5 ชั่วโมง  ) สำหรับการสอนทักษะแบบตัวต่อตัว  เป็นกลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่   ซึ่งทั้งนี้ไม่นับรวมเวลาการฝึกโดยตรงจากนักบำบัด
การประเมินผล
การประเมินทักษะการเรียนตามแนวการพัฒนาหลักสูตรพิเศษฉบับนี้   เป็นการประเมินทักษะเพื่อสำรวจความสามารถขั้นพื้นฐานของผู้เรียน เพื่อวัตถุประสงค์ในการวางแผนการเรียนการสอน และเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยให้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน  ร่วมกับผู้ปกครองของผู้เรียน ศึกษานิเทศก์และหรือนักวิชาการศึกษาพิเศษในเขตการศึกษาที่สถานศึกษานั้นสังกัดอยู่
การประเมินทักษะการเรียนของแต่ละกลุ่มทักษะนั้น   อาจกระทำเป็นสองระยะคือ   ก่อนจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล   และภายหลังหรือปลายปีการศึกษา นอกจากนี้อาจกระทำในระหว่างการเรียนการสอน    กล่าวคือ  เมื่อจะสิ้นสุดการสอนกิจกรรมแต่ละครั้งนั้น หรือตามที่กำหนดในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล   ทั้งนี้อาศัยการสังเกตพฤติกรรมตามพัฒนาการปกติ การสัมภาษณ์ซักถาม   การตรวจสอบผลงานที่นักเรียนปฏิบัติไว้   การทดสอบในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน   ประกอบกับความร่วมมือ   ความมั่นใจ   ช่วงความสนใจ สภาพการมองเห็น และสภาพการได้ยินในขณะทดสอบ   การบันทึกผลที่ได้จากการประเมินทักษะการเรียน    ให้จัดรวบรวมลงในสมุดบันทึกพัฒนาการของผู้เรียนแต่ละคน  (หรือจัดเป็นสมุดบันทึกพัฒนาการในชั้นเรียน )   ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องอาจขอทำการตรวจสอบได้ง่าย    การพิจารณาผลประจำปีเพื่อการจัดกลุ่ม  เลื่อน หรือปรับชั้นเรียนให้กับผู้เรียนนั้น สถานศึกษาควรจัดทำอย่างสม่ำเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น